พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ขายกาแฟ ก็นำเครื่องชงไปเป็นหลักประกันได้นะค่ะ

  • ็Header 2
    1. พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ  พ.ศ. 2558  เป็น กฎหมายที่ออกมาเพื่อรองรับให้ผู้ประกอบการสามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน ในการใช้เป็นหลักประกัน เช่น สินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น มาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้
     
    เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ทรัพย์สินที่อาจนำมาใช้เป็นประกันกาชำระหนี้ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกันหรือการจำนองตามมาตรา 703 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์มีทะเบียนบางประเภทเท่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่สามารถนำทรัพย์สินอื่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนอกจากทรัพย์สินดังกล่าวมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกันได้ เช่น สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งที่ทรัพย์สินเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่นกัน อีกทั้งกระบวนการบังคับจำนองมีความล่าช้าอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ สมควรตรากฎหมายเพื่อรองรับการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้และสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (Click)
     
     
     
    2. เมื่อมีพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจดังต่อไปนี้สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ตามกฎหมาย โดยผู้ให้หลักประกัน (ผู้ประกอบธุรกิจ) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน) จะต้องตกลงกันเองว่าจะให้และจะรับหลักประกันดังกล่าวและเลือกผู้บังคับหลักประกัน
     
    3. หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน
     
       3.1 ไต่สวนข้อเท็จจริงเหตุบังคับหลักประกัน
       3.2 ตรวจสอบและประเมินราคากิจการที่เป็นหลักประกัน
       3.3 กำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน
       3.4 บำรุงรักษา จัดการและดำเนินกิจการที่เป็นประกันจนกว่าจะจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกันได้
     
     
       3.5 ดำเนินการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน และจัดสรรเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้
     
    4. ผู้บังคับหลักประกัน หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานทะเบียนให้เป็นผู้บังคับหลักประกันสำหรับการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน
     
     
     
        4.1 โดยผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันต้องมี ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือการประเมินราคาทรัพย์สิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
     
         ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นผู้บังคับหลักประกัน (Click) ตามร่างประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถเป็นผู้บังคับหลักประกันได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้  
     
        -  ต้องมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี
     
        4.2 โดยผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกัน ต้องผ่านการอบรมและผ่านการทดสอบ ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด
     
         ปัจจุบัน  กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกัน (Click) ตามร่างประกาศดังกล่างได้กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันต้องผ่านหลักสูตรการอบรม ในกลุ่มวิชา ดังนี้ 
        1. กลุ่มวิชาด้านกฎหมาย (18 ชั่วโมง)
        2. กลุ่มวิชาด้านการบริหารจัดการกิจการ (12 ชั่วโมงหรือ 15 ชั่วโมง)
        3. ประเมินราคาทรัพย์สิน (6 ชั่วโมง)
        4. จริยธรรมและมาตรฐานของผู้บังคับหลักประกัน (6 ชั่วโมง)
    tag : บัญชี, ตรวจสอบบัญชี , ภาษี , ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ใบกำกับภาษี , ภาษีซื้อ , ภาษีซื้อต้งห้าม ,สอบบัญชี  ,การตรวจสอบบัญชี ,การสอบ บัญชี , ผู้สอบบัญชี ,  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ,สอบบัญชี , บริษัท ตรวจ สอบ บัญชี 
     

Related ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

  • แจกไฟล์คู่มือภาษีอากร
  • แจกไฟล์คู่มือภาษีอากร
  • “จัดทำบัญชีอย่างไรให้...ให้เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี”
  • สินค้าคงเหลือ
  • สินค้าคงเหลือ
Scroll To Top